February 27, 2017

บทเรียนการทำ presentation ที่ดี

(chart สีสดใสเนอะ แต่มันสำคัญแค่ไหน)


หนึ่งในทักษะที่เราคิดว่า สำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิต คือ การสื่อสาร
ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ความรู้สึกคนอื่น
หรือ การให้คนอื่นได้รับรู้ถึงความรู้สึกเรา
หรือ การอ่านอะไรยากๆให้เข้าใจ
หรือ การเล่นดนตรีให้คนอื่นสนุกตามไปด้วย

พวกนี้ก็คือ การสื่อสารหมดอะนะ
แล้วคนที่สื่อสารเก่งๆ
ก็จะเป็นคนที่สร้างเพื่อนได้ดี
หลบปัญหาจากความเข้าใจผิดได้
เรียนรู้เร็วกว่าคนอื่น
รู้ว่าทำอะไรคนอื่นถึงจะหายทุกข์ได้
ฯลฯ

หนึ่งในการสื่อสารที่สำคัญมากๆ ก็คือ
การอธิบายอะไรให้คนอื่นสนใจและรู้เรื่อง
ซึ่งส่วนใหญ่ มาในรูปแบบการ present งานนั้นเอง

การ present งานที่ดี มันมีประโยชน์มาก

ไม่ใช่แค่เฉพาะที่ทำงานหรือที่เรียนเท่านั้น
ที่จะต้องพยายามแชร์งานที่ตัวเองทำ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือผลงานวิจัย ให้คนอื่นรู้

แต่ยังได้ใช้ในการทำงานกิจกรรมทางสังคม
เช่น การเตรียมกิจกรรมการแสดงประจำปี อะไรงี้ด้วย

ตั้งแต่เด็กจนป่านนี้
เราได้มีโอกาส present งานสำคัญๆค่อนข้างเยอะอยู่
และยังได้ไปนั่งฟังคนอื่น present มาเยอะด้วย

น่าจะ ผ่าน presentation เป็นร้อยๆครั้งแล้ว

เราได้เรียนรู้ ทั้งทางตรงและผ่านการสังเกตคนอื่น
ว่า คนที่ present ดีๆ เค้าทำอะไรบ้าง
และคน present แย่ทำอะไรบ้าง
แล้วก็จำมาว่าอันไหนควรทำ ไม่ควรทำ


ขอแค่ 4 ข้อเหอะนะ


ในบทความนี้ เราเลือก 4 อย่างที่ เราคิด ว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุด
ของ presentation ทีเจอมาในชีวิต
ที่แม้แต่คนที่โคตรเก่ง หรือระดับโปรเฟสเซอร์ก็ยังเห็นพลาดอยู่

เป็น 4 อย่างที่เราคิดว่า ใช้เวลาแก้ไม่นานมาก
(เหมาะสำหรับคนที่งานเยอะ ไม่มีเวลามาเตรียมตัวเยอะนัก)
และเป็น 4 อย่างที่มีผลกระทบกับคุณภาพของ presentation ค่อนข้างชัดเจน
แบบ ถ้าทำพวกนี้ได้ แต่อย่างอื่นแย่ ก็ไม่เป็นไรมาก

เพื่อให้เห็นภาพ เราจะลองเอาสไล์ดแชร์ความรู้
เรื่องการนอนกลางวันมาให้ดูกัน

ในนี้ก็เป็นสไลด์ปลอมๆ แล้วก็เป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างจะโง่นิดนึง
แต่ขอให้เชื่อว่า presentation ที่เราเจอมา
เมื่อดึงใจความสำคัญออกมา
มันก็ไม่ได้ต่างกับอย่างนี้เท่าไรจริงๆ

ต้องขออภัยที่นึกตัวอย่างที่ดีกว่านี้ไม่ออก
แต่อยากให้ผู้อ่านลองอ่านเพื่้อพยายามเก็ตประเด็น
แล้วเอาไปประยุกต์ใช้ให้มากที่สุดนะ :)


สไลด์การนอนกลางวัน




หมายเหตุ


ก่อนจะเข้าเรื่อง ต้องบอกก่อนว่า
เทคนิคพวกนี้ เหมาะกับ presentation ประเภทที่
ผู้ฟังอยากได้ความรู้และอาจจะอยากได้ powerpoint มาดูทีหลังเรื่อยๆ
ตัวอย่างหลักๆเลย คือ เสนอผลงาน งานวิจัย แชร์ประสบการณ์ แชร์ความรู้
หรือสำหรับพวกโปรแกรมเมอร์ ก็แบบพวก สอนภาษาหรือ framework ใหม่ๆ

จะมี presentation อีกแบบนึง ซึ่้งเป้าหมาย เพื่อก่อให้เกิดอารมณ์ มากกว่าที่จะให้ความรู้
เช่นพวก ted talk หลายๆอัน
ที่มันมีแค่รูปภาพเป็นฉากหลัง แล้วคนพูดก็พูดไป คนฟังก็ฮือฮาๆ
สำหรับ presentation แบบที่สองนี้ เราไม่มีประสบการณ์เท่าไร
เลยไม่แน่ใจว่า เทคนิคพวกนี้จะช่วยได้บ้างหรือเปล่า

แต่อย่างน้อย ข่าวดีคือ เราคิดว่า presentation แบบที่เน้นให้ความรู้
จะได้ใช้ในการดำเนินชีวิตบ่อยกว่าสำหรับคนทั่วๆไป


วิธีการเตรียม presentation ที่ดี 4 ข้อ


(1) พูดถึงปัญหาให้เยอะ

การพูดแชร์ความรู้แทบจะทุกเรื่อง
มักจะเป็นการแชร์เพื่อแก้ปัญหาอะไรซักอย่าง

เช่น
ถ้ามีวิธีการปลูกข้าวแบบใหม่ออกมา
ก็มักจะเป็นการแก้ปัญหาเดิมจากวิธีการปลูกข้าวที่เคยมีมา

มีหลายครั้งมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ที่เรานั่งฟัง presentation อยู่แล้วเรานั่งคิดว่า
“ที่พูดมาทั้งหมดนี่เพื่ออะไร มันสำคัญยังไงเนี่ย”

ปัญหาหลักๆมาจากการที่ผู้พูดคลุกคลีกับงานนั้นเยอะมากแล้ว
ผู้พูดเค้า อิน กับปัญหาไปเรียบร้อยแล้ว
เค้าเลยมักอยากจะเสนอวิธีแก้ให้คนอื่นฟัง
จนลืมไปว่า ผู้ฟังหลายๆคน ไม่ได้อินกับปัญหานั้นไปด้วย

กลับมาดูตัวอย่าง สไลด์การนอนกลางวัน
จะเห็นว่าหลังจาก สไลด์ บทนำ ปุ๊ป เค้าเข้าเรื่องวิชาการเลย
ในบทนำก็ไม่ได้พูดถึงปัญหาตรงๆด้วย
เค้าแค่บอกว่า การนอนกลางวันทำให้สดชื่นขึ้น

จากประสบการณ์ ผู้พูดควรจะอธิบายปัญหาให้คนฟังเยอะๆ
โดยทั่วไป เราจะพยายามใช้เวลาประมาณ 1 ใน 5 (หรือมากกว่า)
ของเวลา present ทั้งหมด เพื่อพูดถึงปัญหา

อะ ลองมาแก้สไล์ดเรื่องการนอนกลางวัน
ก่อนจะพยายาม แชร์ความรู้เรื่องการนอนกลางวันให้ถูกวิธี
ก่อนอื่น ต้องให้คนฟัง อินก่อน ว่าคนเราวันๆนึงมันนอนไม่พอ
ก็เลยต้องมีการนอนกลางวัน ไม่งั้นไม่รอด

ในกรณีนี้ เราแปลงบทนำให้กลายไปสไลด์
เพิ่มเติมไปอีก 3 สไลด์ แทนจะดีกว่า




(2) เสนอสิ่งที่สำคัญที่สุดแค่ไม่กี่อย่างพอ

การ present วิชาการ มักจะเป็นอะไรที่มีรายละเอียดยิบย่อยมาก
ตัวอย่าง หนึ่ง paper งานวิจัย นี่แก้ปัญหา 4-5 อย่างก็ไม่แปลก
คนที่เป็นเจ้าของผลงานก็มักจะอยากให้คนอื่นรู้ว่า สิ่งที่เค้าทำมันช่วยได้หลายๆเรื่อง

หรือแม้แต่ในกรณีที่เราเอางานคนอื่นมาเสนอ
บางทีเราก็มี อีโก้ อยากให้คนอื่นรู้ว่า เราเข้าใจงานนี้ละเอียด
เลยอยากเสนออะไรทุกๆอย่างที่มีในงานให้คนอื่นฟัง

เห็นมาเยอะเลย โดยเฉพาะคนเก่งๆ ที่ทำข้อนี้พลาด
ผลก็คือ present ยาวเกิน คนเบื่อหมดพอดี

กลับมาที่คนฟังอีกแหละ
คนฟังนอกจากจะไม่ได้ อิน กับปัญหาเท่าไร
เค้าไม่ได้มีเวลาให้กับตัวงานนั้นเท่าเราด้วย

ผู้พูดต้องช่วยคนฟัง ด้วยการเลือกอะไรที่เด็ดๆที่สุดออกมา
เพื่อจะได้พูดได้ภายในเวลาที่กำหนด
ส่วนใหญ่จากประสบการณ์ เลือกอะไรเด็ดสุด แค่ 1-2 อย่างกำลังดี

มาดูสไลด์เรื่องการนอนกลางวันกัน
มีทั้งวิธีการนอนให้มีความคิดสร้างสรรค์ นอนให้สดชื่น นอนให้ความจำดี เยอะแยะไปหมด

ถ้าสมมติว่าโดนบังคับให้เลือกได้อย่างเดียว
คิดว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ
ระยะเวลาการนอนกลางวันว่า นอนนานแค่ไหนถึงจะดี
เพราะมันเป็นแก่นของทุกอย่าง
ไอ้รายละเอียด ว่านอนยังไงดียังไง เดี๋ยวผู้ฟังเค้าไปหาหนังสือเพิ่มได้

ทีนี้เรามาตัดสไลด์ทิ้งกัน




(3) หัวข้อทุกสไลด์ต้องสรุปใจความสไลด์นั้น

อีกหนึ่งปัญหาที่เจอบ่อยสุด ก็คือ หัวข้อสไลด์เนี่ยแหละ
(ไอ้บรรทัดบนสุดของทุกสไลด์นั่นอะ)

แทบจะทุกครั้ง จะต้องมีสไลด์ “บทนำ” หรือ “สรุป” หรือ “ตอบคำถาม” หรือ “ตัวอย่าง”

รู้หรือเปล่าว่า ไอ้บรรทัดบนสุดใหญ่ๆ ของแต่ละสไลด์ เป็นสิ่งแรกที่ผู้อ่านเห็นและอ่านตาม

แล้วไอ้คำว่า
บทนำ สรุป ตอบคำถาม ตัวอย่าง
มันไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเลย

ตัวอย่างเหรอ ตัวอย่างอะไรทำไมไม่บอก ที่โชว์ตัวอย่างต้องการจะสื่ออะไร

ทุกสไลด์ที่เราใส่ไป ให้นั่งคิดดีๆ ว่า หัวข้อ สไลด์นั้นมันให้ข้อมูลพอหรือเปล่า
ถ้าเราลบทุกอย่างในสไลด์นั้นทิ้งยกเว้นหัวข้อแล้วสไลด์นั้นยังมีประโยชน์อยู่หรือเปล่า

มาแก้สไลด์เรื่องการนอนกลางวันกัน

ไอ้บทนำ หายไปตั้งแต่แรกแล้ว
เพราะเรามาขยายความเรื่องปัญหาการนอนไม่พอไปเรียบร้อยแล้ว

เหลือสไลด์ “สรุป”

มาคิดดูแล้ว เนื้อหาสรุปการพูดทั้งหมดนี้
เป็นการบอกประโยชน์และวิธีการนอนกลางวัน

สาเหตุที่เรามา present ก็คือเพื่อมาชักชวนคนนอนกลางวัน
แทนที่จะใช้คำว่า สรุป ก็ชวนคนนอนกลางวันเลย




(4) ซ้อม present อย่างน้อยครั้งนึง

ทุกๆโพสที่เคยอ่านเกี่ยวกับการ present บอกว่าต้องซ้อม
เหมือนจะเป็นความรู้ทั่วไป ที่ทุกคนต้องรู้ไปแล้ว

แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คนไม่ซ้อมมีเยอะเลยนะ
โปรเฟสเซอร์ที่ชีวิตวุ่นวายงานเยอะๆเนี่ย ตัวดีเลย
แล้วมันดูออกนะว่าซ้อมหรือไม่ซ้อมมา
คน present จะงงๆ ยืนมองสไลด์ว่าถึงไหนแล้ว
แล้วมันจะติดๆขัดๆ ทำให้คนฟังเข้าใจเนื้อหายากขึ้น

เราเคยต้อง present แบบกะทันหันทีนึง
มีเวลาเตรียมตัว 2 วัน เพื่อพูด 1 ชั่วโมง
เราก็หาเวลาซ้อมกับตัวเองได้แค่ครั้งเดียว

พอถึงวัน present โปรเฟสเซอร์ถามว่าได้ซ้อมบ้างป่าว
เราบอกว่า ได้ซ้อมแค่ครั้งเดียว
โปรเฟสเซอร์บอกว่า ใช้ได้ละ
เพราะ เยอะกว่าคนที่เคยมา present งานนี้ เกือบทุกคน

ไม่ว่าจะวุ่นแค่ไหน
ถ้าไม่มีเวลาจริงๆ ขอแค่ซ้อม present กับตัวเองครั้งเดียวก็โอเคแล้ว
แล้วมันต่างกันจริงๆ ระหว่างซ้อม 0 ครั้งกับซ้อม 1 ครั้งเนี่ย



เราคิดว่า นี่เป็น 4 อย่างที่ควรจะรู้ ก่อนจะไปพัฒนา presentation ด้วยวิธีอื่นๆ

น่าจะใช้ได้เป็นพิเศษสำหรับ presentation ประเภทที่แชร์ความรู้หรือผลงาน
เช่น ในที่ทำงานหรือที่เรียน


ก็หวังว่าคงจะเอาไปประยุกต์ใช้ได้กันได้นะ

และถ้ามีเวลา อยากพัฒนาต่อไป
ก็ไปหาวิธีเพิ่มเอาตามเน็ตได้มีเยอะอยู่

ถ้าไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ก็ขออนุญาตขายโพสรุ่นพี่ 2 โพส ซะเลย อิอิ :)
(1) 8 วิธีบอกลา Powerpoint ห่วยๆ
(2) กฎ 10/20/30 ของการทำสไลด์

สุดท้าย นอกเรื่องหน่อย แต่ถ้าสนใจเรื่องการนอนกลางวันจริงๆ
แนะนำหนังสือเล่มนี้เลย


บายยยยยย